การประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
จากการสังเกตผลการประเมินภายนอกโรงเรียนต่างๆ ซึ่งเป็นการประเมินความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพที่ให้กับโรงเรียน สะท้อนว่า ผู้ประเมินจำนวนหนึ่งยังเข้าใจไม่ตรงกัน เกี่ยวกับเกณฑ์การให้ระดับคุณภาพผลการประเมินรายมาตรฐาน
ตามหลักการของรอบที่สี่ .โรงเรียนตัดเสื้อ/ใส่เสื้อได้ตามอัธยาศรัย/กำหนดมาตรฐานเอง/ประกันคุณภาพตนเองตามอัธยาศรัย ครับ ...สมศ.ไปดูว่า
(1) โรงเรียนกำหนดมาตรฐาน+ตัวบ่งชี้ เหมาะสมไหม มีแผนงานโครงการรองรับอย่างเหมาะสมและเป็นไปได้ไหม
(2) ผลการประเมินตนเองของโรงเรียน น่าเชื่อถือไหม และ
(3) เกิดประสิทธิผลหรือเกิดผลดีตามเป้าประสงค์(Objectives)ของโรงเรียนไหม
----------
(4) ผลการพัฒนาหรือคุณภาพในระยะ 2-3 ปี มีพัฒนาการ(Growth)ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไหม และ
(5) สามารถพัฒนานวัตกรรมต้นแบบที่หลากหลาย เป็นแบบอย่างในระดับประเทศ ที่ผ่านการเผยแพร่ อย่างเป็นรูปธรรมไหม...
----------
ถ้าตอบ Yes 3 ข้อ ถือเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือได้ผลการประเมินระดับดี(3) ถ้าตอบ Yes 4 ข้อ จะขึ้นสู่ระดับดีมาก(4) ถ้าตอบ Yes ทั้ง 5 ข้อ จะได้ ดีเยี่ยม(5)
-----------
ตามนัยข้างต้น โรงเรียนที่ไม่มีโอกาสคัดเลือกเด็กเลย รับเด็กกลุ่มอ่อนหรือกลุ่มเสี่ยงเกือบทั้งหมด เข้ามาเรียน แต่หากสามารถทำให้เด็กเกิดการพัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่องทั้งด้านวิชาการและด้านคุณลักษณะ จะมีโอกาสได้เกรดดีมาก(4) หรือดีเยี่ยม(5)ได้.....โรงเรียนที่ปรากฏผลการประเมินตนเองปีล่าสุดสูงมาก(หรือบรรลุตามเป้าประสงค์ในระดับยอดเยี่ยม) แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ในระยะ 2-3 ปีหลัง เด็กมีคุณภาพทั้งด้านวิชาการและคุณลักษณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรณีเช่นนี้ ผู้ประเมินภายนอก ไม่สามารถให้ผลการประเมินระดับ 4-ดีมาก หรือ 5-ดีเยี่ยมได้ อาจให้ผลการประเมินระดับ 3-ดี เท่านั้น
อนึ่ง ในการประเมินรอบสี่ จะตัดสินและให้ระดับคุณภาพเป็นรายด้านหรือรายมาตรฐาน ไม่มีการรวมหรือเฉลี่ยในระดับภาพรวมของโรงเรียน และไม่มีการตัดสินว่ารับรองหรือไม่รับรอง แต่จะเน้นชี้แนะเพื่อการพัฒนา....โดยการชี้แนะจะมี 3 ประเภท คือ
I. รายการที่ต้องแก้ไขด่วน
II.รายการที่ควรปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และ
III.รายการที่ควรพัฒนาขึ้นสู่การเป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบ
การประเมินความโดดเด่นเฉพาะทาง
การประเมินความโดดเด่นเฉพาะทาง เป็นทางเลือกสำหรับสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเป็นพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง อาทิ ด้านวิชาการควบคู่กับคุณธรรม ด้านทักษะภาษา ด้านทักษะเฉพาะทาง ด้านการบริหารจัดการ หรือ อื่น ๆ ต้องเป็นประเด็นที่สถานศึกษาให้ความสำคัญและมุ่งมั่นพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ โดยผู้ประเมินจะพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ แล้วตดสินให้ระดับคุณภาพเป็น
C1 : โดดเด่นระดับภูมิภาค
C2 : โดดเด่นระดับชาติ
C3 : โดดเด่นระดับนานาชาติ
กรณีโดดเด่นระดับชาติหรือนานาชาติ สมศ.จะประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นที่รับทราบอย่างแพร่หลายในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น