วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 24 การสร้างความเข้าใจกับสถานศึกษา เกี่ยวกับ "ตรรกะสำคัญ : ผลย่อมเกิดจากเหตุปัจจัย"

โรงเรียนและผู้ประเมินภายนอก จะต้องเข้าใจตรรกะสำคัญ คือ "ผลย่อมเกิดจากเหตุปัจจัย" กล่าวคือ ถ้าโรงเรียนแห่งหนึ่งล้มเหลวด้านคุณภาพผู้เรียน ก็แสดงว่า (1) กระบวนการบริหารจัดการ และ (2)กระบวนการสอนและระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก ยังไม่ประสบความสำเร็จ(ใช่หรือไม่)

   ในการประเมินภายนอก ถ้าพบว่า ด้านคุณภาพผู้เรียน ไม่ว่าพิจารณาแบบอิงเกณฑ์(ร้อยละของเด็กที่มีคุณภาพระดับดี-ดีมาก) หรือพิจารณาจากพัฒนาการ(คุณภาพปีหลัง เทียบกับปีก่อน   หรือคุณภาพเด็กเมื่อเข้ามาเรียนครบ 3 ปี โดยเทียบกับฐานเดิมตอนแรกรับ)  หากพบว่า คุณภาพก็ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด หรือพัฒนาการ(Growth)ก็ไม่มี  หากกำหนดเป็นเกรดก็อยู่ระดับพอใช้-ดี ในกรณีเช่นนี้ แสดงว่าการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ประสบความสำเร็จ  ดังนั้นผลการประเมินคุณภาพด้านการบริหารและการสอนก็ไม่ควรได้รับผลการประเมินสูงกว่าระดับ "ดี"

   โดยนัยดังกล่าวข้างต้น  การตัดสินคุณภาพหรือการให้เกรดคุณภาพด้านบริหารและการสอน ไม่ควรสูงกว่าคุณภาพด้านผู้เรียน...จริงไหม???
-----------
   การบริหารสถานศึกษาก็เหมือนกับการบริหารจัดการในครอบครัว ถ้าลูกไม่เป็นคนดีของสังคม ไม่มีความรู้-ความสามารถเพียงพอที่จะดูแลตนเองในชีวิต...พ่อแม่จะอ้างว่า (1)อบรมสั่งสอนดีแล้ว และ(2)บริหารจัดการครอบครัวดีแล้ว ขอรับเกรดคุณภาพเป็นครอบครัวดีเด่น...มันย่อมฟังไม่ขึ้น
-----------
   ในการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจในการประเมินภายนอกของ สมศ. ผมย้ำประเด็นนี้บ่อยครั้งมาก แต่เชื่อไหม...มันยังไม่เป็นที่เข้าใจตรงกันสักทีทั้งจากสถานศึกษาและผู้ประเมินภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น