วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 1 ศธ.ประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 4(2559-2563)





   หลังจากมีความเห็นที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันมายาวนาน ตลอดปี 2558-59  โดย สถานศึกษาและหน่วยงานจำนวนหนึ่งเสนอให้ยุบ สมศ. อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีระบบการประเมินภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐาน อันจะนำไปสู่การกระตุ้นสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  ในการนี้ สภาการขับเคลื่อนประเทศไทย(สปท.) เสนอให้ชะลอการประเมินภายนอกไป 2 ปี นั่นหมายถึงยังไม่มีการประเมินในปี 2559-2560...ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนี้ ทำให้การพัฒนามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ชะลอไประยะหนึ่ง...ตราบจนวันที่ 11 ตุลาคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับใหม่ สำหรับใช้ในปี 2559-2563  โดยกระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้ สมศ.ในฐานะองค์กรภายนอกใช้มาตรฐานคุณภาพฉบับเดียวกันนี้ เพื่อการประเมินสถานศึกษา  อันหมายถึง การประเมินภายในโดยต้นสังกัด กับ การประเมินภายนอกโดย สมศ.ใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเดียวกัน
   มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ฉบับ 11 ต.ค.2559  ได้กำหนดมาตรฐานหลักไว้ 4 มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฯ ปี 2553 ที่กำหนดให้ สมศงทำการประเมินภายนอก 4 มาตรฐาน  ประกอบด้วย


มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล 

รายละเอียดตัวบ่งชี้ เป็นดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน  ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
        1.1    ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
        1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์
               ของแต่ละระดับชั้น
       1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ  อภิปราย แลกเปลี่ยนความ
               คิดเห็นและแก้ปัญหา
       1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
       1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
 1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน

      1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับ
             กฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
      1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

     2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
     2.2 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
    2.2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างเป็นรูปธรรม
    2.2.2 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
    2.2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
    2.2.4 การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ
     2.3 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
     2.4 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
     3.2 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
      3.3 การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

     การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
 
 
 
"สถานศึกษาสามารถใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ฉบับประกาศวันที่ 11 ต.ค.59 เป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา"

 
 
"หากทำการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพภายใน เปรียบเทียบระหว่างรอบที่ 3(2554-2558) กับมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาภายในรอบที่ 4(2559-2563) ฉบับนี้  ก็จะพบว่า ไม่แตกต่างกันมากนัก  ดังจะเทียบให้เห็นในบทความต่อไป"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น