วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 5 แนวโน้มหลักปฏิบัติในการประเมินภายนอกโดย สมศ. ในรอบที่ 4(2559-63) : ข้อเสนอ(Proposed Model)





     ในการประเมินภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้ฐาน ในรอบที่ 4(2559-63)  ผมประมวลผลจากการรับฟัง การร่วมเสวนา ผมคิดว่า ณ เวลานี้ มีแนวโน้มที่จะดำเนินการตามหลักปฏิบัติต่อไปนี้ โดยรายการสีน้ำเงิน น่าจะถือได้ว่าเป็นข้อยุติแล้ว ส่วนรายการอื่น ๆ ยังอยู่ในลักษณะของข้อเสนอที่มีแนวโน้มเป็นไปได้สูง

  • มาตรฐานเพื่อการประเมินภายนอก : ใช้มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สำหรับการประกันคุณภาพภายในของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559(ภายนอกและภายใน ใช้มาตรฐานเดียวกัน)
  • การตัดสินระดับคุณภาพ เน้นการตัดสินภาพรวมรายมาตรฐาน 4 มาตรฐาน คือ (1) คุณภาพผู้เรียน  (2) การบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา  (3) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และ (4) การประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
  • การตัดสินรับรอง-ไม่รับรอง  เปลี่ยนเป็น "ตัดสินรับรองแบบจำแนกระดับคุณภาพ" เช่น  
    • รับรองระดับดีเลิศ  
    • รับรองระดับดีมาก
    • รับรอง ระดับดี
    • รับรอง ระดับปานกลาง
    • รับรอง แบบมีเงื่อนไข
  • การพัฒนาเพื่อขอเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพ   กรณีของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองระดับปานกลางและรับรองแบบมีเงื่อนไข อาจจะต้องเข้าสู่ระบบกำกับติดตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและต้นสังกัด (คือ เขตพื้นที่การศึกษาหรือคณะกรรมการที่เขตพื้นที่แต่งตั้งให้รับผิดชอบดำเนินการประกันคุณภาพภายในกรณีพิเศษ)  ในระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพ
  • ระยะเวลาในการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  อยู่ระหว่าง 1-3 วัน ตามระดับคุณภาพที่เป็นฐานเดิมของสถานศึกษา
  • การขอรับการประเมินภายนอก  ให้ความสำคัญกับความต้องการหรือความพร้อมของสถานศึกษา หรือตามการเห็นพ้องของต้นสังกัดคือเขตพื้นที่การศึกษา ในการจัดส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมิน (อันเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพภายในของต้นสังกัด กล่าวคือ ต้นสังกัดหรือเขตพื้นที่ที่ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างมีประสิทธิภาพก็มีโอกาสส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมินและรับรองมาตรฐานได้ครบถ้วนหรือทั่วถึงก่อน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น