วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 13 แนวทางการประเมินภายนอกรอบสี่ (2562-2563)


1. หลักการและแนวคิดสำคัญในการประเมินภายนอก รอบที่สี่ 
  การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ใช้วิธีการตัดสินแบบองค์รวม (Holistic Approach)  โดยผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญ (Expert Judgment) ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ พิจารณาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่เกิดจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษา

  การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ สมศ. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการประเมินที่เชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เน้นการประเมินเพื่อ “พัฒนา” ไม่มีการตัดสินผลการประเมินว่า “รับรอง-ไม่รับรอง”  แต่จะเป็นการยืนยัน(Certification) คุณภาพหรือความคมของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

  การตัดสินผลการประเมิน  จะสรุปคุณภาพของระบบประกันคุณภาพในแต่ละองค์ประกอบของสถานศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา  โดยไม่นำมาสรุปหาค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์ขององค์ประกอบต่างๆ ในภาพรวม  อีกทั้ง สมศ. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก (Automated QA: AQA) ช่วยส่งเสริมระบบการดำเนินงานของการประเมินคุณภาพ และลดภาระด้านเอกสารของสถานศึกษา ไม่ต้องจัดทำเอกสารเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก  แต่เป็นการจัดทำเอกสาร ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการศึกษาตามปกติของสถานศึกษา

2. เป้าของการประเมินและประเด็นที่มุ่งประเมิน

เป้าของการประเมิน มุ่งประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  : ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ประเด็นที่มุ่งพิจารณา
2.1 ความเหมาะสม เป็นระบบ และเป็นไปได้ (Propriety /Feasibility) ของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน รวมถึงแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาเพื่อสู่มาตรฐาน : มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ ฯ มีความเหมาะสม เป็นไปได้ หรือมีความเป็นระบบ มากน้อยเพียงใด(ครอบคลุม ครบถ้วน สอดคล้องกับเงื่อนไข/นโยบายของต้นสังกัด  และบริบทของสถานศึกษา สามารถดำเนินการได้จริง ประหยัด และคุ้มค่า) 
ความเป็นระบบ (Systematic) หมายถึง กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการ ดำเนินการอย่างเป็นระบบครบวงจรของการปฏิบัติงาน อาจจะเป็น กระบวนการ PDCA คือ
การวางแผน (
Plan)  การปฏิบัติตามแผน (DO)  การตรวจสอบ (Check) และ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม (Act) เป็นต้น

          2.2 ความเชื่อถือได้ (Accuracy/Validity / Credibility) ของผลการประเมินตนเอง : ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา น่าเชื่อ หรือเชื่อถือได้ มากน้อยเพียงใด พิจารณาจาก ความน่าเชื่อถือของคณะผู้ประเมินภายในและกระบวนการประเมินภายใน และความเชื่อถือได้ของผลการประเมินเมื่อตรวจสอบจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (ตรงตามสภาพจริง ยอมรับได้) 

          2.3 ประสิทธิผล (Effectiveness) ของการประกันคุณภาพภายใน : ระบบประกันคุณภาพภายใน มีผลทำให้(1) เกิดการพัฒนาด้านผู้เรียน หรือด้านกระบวนการบริหาร หรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน หรือไม่เพียงใด(ทำให้ GROWTH หรือ เกิด IMPROVEMENT)  พิจารณาจาก พัฒนาการในระยะ 2-3 ปีล่าสุด และ (2) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นในแง่ของการสร้างนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และวงวิชาการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เกิดนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างได้ หรือไม่  (โดยสรุป ประสิทธิผล ตัดสินเป็น 2 ระดับคุณภาพ คือ  การเกิดผลดีต่อการยกระดับคุณภาพ และ การสร้างนวัตกรรมต้นแบบต่อวงวิชาการ)

   หากสถานศึกษา กำหนดมาตรฐานจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน   ด้านกระบวนการบริหารจัดการ  และ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน  ในกรณีนี้  ผู้ประเมินภายในอกจะพิจารณา แล้วตัดสินคุณภาพ จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ
   I. ด้านผู้เรียน : (1)กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ หรือเกณฑ์ รวมถึงแผนงาน โครงการ อย่างเหมาะสมและเป็นได้หรือไม่ (2) ผลการประเมินตนเองด้านผู้เรียน เชื่อถือได้หรือไม่ และ (3) การประกันคุณภาพในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผลทำให้คุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ และ สามารถสร้างนวัตกรรมต้นแบบด้านการพัฒนาผู้เรียนได้อยากหลากหลายหรือไม่ ...ตัดสินระดับคุณภาพเป็น 

                                5-ดีเยี่ยม = ผ่านเกณฑ์ระดับ 4 และ มีนวัตกรรมด้านการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย
                            4-ดีมาก =  ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 และคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
                                             ในระยะ 2-3 ปีหลังสุด  
                      3-ดี   =  องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การตัดสิน  แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนา  
                                   มีความเหมาะสม เป็นไปได้  และผลการประเมินตนเองเชื่อถือได้ 
                 2-พอใช้ = บกพร่องบางรายการ
            1-ปรับปรุง = บกพร่องหลายรายการ
----------------------------------------------------------------------------------------------
II. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ : (1) กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ อย่างเหมาะสม เป็นไปได้หรือไม่ กระบวนการดำเนินงานมีความเป็นระบบหรือไม่เพียงใด (2) ผลการประเมินตนเองด้านการบริหารจัดการ เชื่อถือได้หรือไม่ และ (3) การประกันคุณภาพภายในด้านบริหาร ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผลทำให้กระบวนการบริหารจัดการมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่  รวมถึง ได้สร้างนวัตกรรมต้นแบบด้านบริหารที่เป็นแบบอย่างได้ หลากหลายหรือไม่ เพียงใด....แล้วตัดสินระดับคุณภาพเป็น 1-ปรับปรุง 2-พอใช้   3-ดี    4-ดีมาก  และ   5-ดีเยี่ยม

   III. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน : (2) กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ อย่างเหมาะสม เป็นไปได้หรือไม่ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบหรือไม่เพียงใด (2) ผลการประเมินตนเองด้านการจัดการเรียนการสอน เชื่อถือได้หรือไม่ และ (3) การประกันคุณภาพภายในด้านการจัดการเรียนการสอน ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผลทำให้กระบวนการสอนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่  รวมถึง ได้สร้างนวัตกรรมต้นแบบด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างได้ อย่างหลากหลายหรือไม่ เพียงใด....แล้วตัดสินระดับคุณภาพเป็น 1-ปรับปรุง 2-พอใช้   3-ดี    4-ดีมาก  และ   5-ดีเยี่ยม

   หากสถานศึกษากำหนดมาตรฐานมากกว่า 3 ด้าน  การประเมินภายนอกในแต่ละด้าน ก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน  โดยไม่มีการนำผลการประเมินแต่ละด้านมาเฉลี่ยในภาพรวม



1 ความคิดเห็น:

  1. การพิจารณาจะให้เกณฑ์ระดับใดในปีนั้น ผมเห็นว่าต้องพิจารณากลับไปกลับมาระหว่างเกณฑ์ที่ตัดสินใจสูงกว่าและต่ำกว่าหนึ่งระดับก่อนตัดสินใจ เมื่อนำข้อมูลจริงมาทาบจะพบความสัมพันธ์ระหว่างสองเกณฑ์กับข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ตัดสินใจได้ว่าข้อมูลนี้ควรอยู่ในเกณฑ์ใดครับ

    ตอบลบ