ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการประเมินภายนอกรอบที่ 4 ระหว่าง ปี 2559-63
วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562
เรื่องที่ 17 Leniency errors: ความคลาดเคลื่อนในเชิงการปล่อยคะแนนสูงกว่าหรือต่ำกว่าความเป็นจริง
ในการประเมินผลภายในหรือประเมินภายนอก บ่อยครั้งที่นักประเมินมีแนวโน้มที่จะปล่อยคะแนนสูงมากกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ โดยในกรณีของประเทศไทย มักมีแนวโน้มปล่อยคะแนนสูงกว่าปกติ ไม่ตรงตามสภาพจริง ซึ่งอาจเนื่องมาจากเครื่องมือหรือมาตรประเมินที่ขาดความเป็นปรนัย หรือมีความเกรงใจ กลัวว่าผู้รับการประเมินอาจจะไม่พอใจ กลายเป็นการประเมินแบบเอาใจเพื่อความสบายใจของผู้รับการประเมิน(Charity Model)
จากประสบการณ์ ที่พบเห็นผลการประเมินภายนอกรอบที่ 2-3(2549-2553, 2554-2558) รวมถึงการประเมินเชิงนำร่องในรอบที่ 4(2559-2563) พบว่า ในขณะที่ผลการประเมินด้านผู้เรียนได้ระดับคุณภาพระดับพอใช้หรือควรปรับปรุง แต่ผลการประเมินด้านบริหารหรือการสอน ได้คะแนนระดีบดี-ดีมาก ซึ่งน่าจะไม่สมเหตุสมผล กล่าวคือ ถ้า ถ้ากระบวนการบริหารและกระบวนการจัดการเรียนการสอนดีมากหรือยอดเยี่ยมจริงๆ คุณภาพด้านผู้เรียนก็น่าจะอยู่ในระดับดี-ดีมาก เช่นกัน(ตามหลักของ ห่วงโซ่คุณภาพ) (ผู้ประเมินอาจตัดสินผลด้านผู้เรียนที่ตรงตามสภาพจริง โดยไม่ต้องเกรงใจนักเรียน แต่ด้านบริหารและการสอน อาจจะมีความเกรงใจหรือกังวลใจกับผลกระทบเชิงลบต่ผู้บริหารและครู หากประเมินต่ำเกินไป
การประเมินที่ปล่อยคะแนนสูงกว่าปกติ เกิดผลดี-ผลเสีย อย่างไร
ข้อดี : ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง สบายใจ มีความสุข ที่ได้รับการชื่นชม ว่ามีคุณภาพระดับ "ดีเยี่ยม"(ถ้าผลการประเมินตรงตามสภาพจริง เด็กส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 90 มีคุณภาพ ก็มีปัญหาไม่มากนัก แต่เด็กจำนวนหนึ่ง 9-10 % ก็อาจถูกทอดทิ้งหรือละเลย)
ข้อเสีย
1. ทำให้ผู้รับการประเมินไม่ทราบสภาพที่แท้จริงของตนเอง หลงว่ามีคุณภาพระดับสูง(เนื่องจากผลการประเมินระบุว่า ดีเยี่ยม ดีเยี่ยม และดีเยี่ยม ในทุกด้าน ทำให้ลดทอนความมุ่งมั่นในการพัฒนา
2. ทำให้สถานศึกษาไม่ทราบจุดอ่อนของตนเอง เด็กจำนวนหนึ่งที่ยังคงเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่ยังไม่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9-10 % ตกอยู่ในสภาพเดิม รุ่นแล้ว รุ่นเล่า
3. โรงเรียนชั้นนำ จำนวนหนึ่ง เมื่อได้รับการการันตีว่า ดีเยี่ยมในทุกด้าน หรืออยู่ในกลุ่มยอดเยี่ยมของประเทศ จะไม่มีพลังหรือไม่มีแรงขับ ในการขับเคลื่อนสู่มาตรฐาสากล หรือแข่งขังระดับนานาชาติ ทำให้ประเทศเสียโอกาส
...หน้าที่ของนักประเมิน คือ การใช้กลไกการประเมินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของสถานศึกษา กล่าวคือ ถ้าสถานศึกษามีโอกาสคัดเด็กคุณภาพสูงเข้าเรียน ก็ควรทุ่มเทเพื่อความเป็นเลิศมากยิ่งขึ้น หรือพัฒนาเด็กให้เป็นเลิศในเกือบทุกด้าน ไม่ใช่พอปรากฏค่าเฉลี่ยหรือร้อยละของเด็กที่มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงมากเพีงบางด้าน(ด้านผลสัมฤทธิ์)แล้ว เราก็พอใจ...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น