มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เป้าประสงค์ และแผนงาน/โครงการ จะถือว่าเหมาะสมและเป็นไปได้ ถ้า
(1) สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดยต้นสังกัด
(2) สอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด /นำนโยบายมาร่วมเป็นกรอบในการพัฒนา
(3) สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
-------
(4) มีการดำเนินการจริง จนประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนด ส่งผลดี ทำให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งในรายการทั่วไป และรายการที่เป็นนโยบาย/จุดเน้น และ
(5) สามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างได้ ทั้งในประเด็นทั่วๆไป และประเด็นที่เป็นนโยบายหรือจุดเน้น
2.ในแต่ละรอบปี ต้นสังกัดหรือศธ.อาจประกาศนโยบาย หรือจุดเน้น หรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัว รมต. ก็อาจปรับเปลี่ยนนโยบายหรือจุดเน้น ในกรณีเช่นนี้ สถานศึกษา ควรปฏิบัติอย่างไร
2.1 ควรวิเคราะห์นโยบาย/จุดเน้น แล้วทบทวนหรือกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ทุกรอบปี (อาจกำหนดเพิ่ม หรือยุบรวม หรือปรับปรุงให้สอดคล้อง เหมาะสม)
2.2 จัดทำแผนงาน/โครงการรองรับ ในรอบปี เป็นรายมาตรฐาน หรือตัวบ่งชี้ แล้วนำแผนสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
2.3 ทำการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐาน ในรอบปี แล้วจัดทำ รายงานการประเมินตนเองที่สอดคล้องหรือครอบคลุมมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด โดยในรายงานควรระบุผลการดำเนินงานในภาพรวม และชี้ให้เห็นผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ หรือนโยบายที่สำคัญๆ
3. ผู้ประเมินภายนอก สมศ. ยังคงตัดสินคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายใน โดยพิจารณาในด้าน(1) ความเหมาะสม ความเป็นระบบ และเป็นไปได้ (2) ความเชื่อถือได้ของผลการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดที่กำหนด ซึ่งมีทั้งรายการที่เป็นนโยบายของต้นสังกัด หรือตามจุดเน้นในบริบทของตนเอง และ (3) ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นในด้านประสิทธิผลตามเป้าประสงค์ พัฒนาการของคุณภาพในระยะ 2-3 ปี และ การสร้างผลลิตนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างได้
...โดยสรุป ในการติดตามงานตามนโยบาย ผู้ประเมินภายนอก ยังคงตัดสินคุณภาพตามกรอบประเด็นปกติ ในด้าน(1)ความเหมาะสม เป็นระบบและเป็นไปได้ (2)ความเชื่อถือได้ของผลการประเมินตนเอง และ(3) ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นในด้านพัฒนาการของผู้เรียนหรือกระบวนการบริหารจัดการ และการสร้างต้นแบบนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------
>>>นโยบาย ศธ.2563<<<
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น