ภายใต้หลัก "การจัดการศึกษาให้ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด"(มาตรา 22 พ.ร.บ. การศึกษา 2542) หากในการประเมินภายนอกรอบถัดไป จะมุ่งเน้นที่คุณภาพผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาและทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้เรียนและพยายามจัดการศึกษาให้บรรลุประสิทธิผลด้านผู้เรียน กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอน หรือ กระบวนการสัมพันธ์ชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นเพียงปัจจัยมูลเหตุ ที่ทำให้คุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้น เท่านั้น....ถ้าคิดเช่นนี้ "โรงเรียนที่ดี คือโรงเรียนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการ(Growth) กล่าวคือ (1) สมรรถนะของผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นตามชั้นปีที่เรียน หรือ (2) ผลการเรียนรุ่นหลัง ๆ ดีกว่ารุ่นก่อนๆ....ดังนั้น การประเมินภายนอกที่ดี คือ มุ่งรับรองคุณภาพ โรงเรียนที่สามารถสร้างพัฒนาการในตัวเด็กได้เป็นอย่างดี
ถ้าเน้นตรวจสอบพัฒนาการด้านผู้เรียน ตามระดับชั้นปี หรือเปรียบเทียบระหว่างรุ่น โรงเรียนใด ทำได้ดี ก็ให้การรับรองคุณภาพว่า "รับรองคุณภาพ(Certified)" ...... โรงเรียนใดทำไม่ได้ก็ต้อง "อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปรับปรุง-พัฒนา(under condition of Improvement)" ที่ร.ร.เองและต้นสังกัด ต้องดูแล ช่วยเหลือเป็นการด่วน
การประกันคุณภาพภายใน(IQA) อาจกำหนดมาตรฐานและประเมินทุกด้าน ทั้ง (1) ด้านผู้เรียน (2) ด้านการบริหารจัดการ และ (3) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ...เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน
การประเมินภายนอก(EQA) ตัดสินกันที่คุณภาพด้านผู้เรียน เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ทุกโรงเรียนต้องหันไปพัฒนาเด็กจากพื้นฐานเดิม ณ ปีแรกรับ ต้องทำให้พวกเขาเกิดการพัฒนา ดีมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง(Growth) ตามชั้นปี เช่น จากเด็กกลุ่มอ่อนตอน ม.1 กลายเป็นกลาง ๆ ใน ม.2 และ มีเด็กเก่งมากขึ้นเมื่อถึง ม.3 (เป็นการเทียบพัฒนาการตามชั้นปี) หรือทำให้ผลการเรียนรุ่นหลัง ๆ มีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ๆ(เทียบระหว่างรุ่น) เป็นต้น....ถ้า EQA ทำเช่นนี้ ผมเชื่อว่า โรงเรียนจะหันมาจริงจังกับคุณภาพด้านผู้เรียนมากขึ้น เพราะไม่สามารถนำผลการประเมินด้านอื่นๆ คือด้านบริหาร หรือด้านการสอนมาเฉลี่ยในภาพรวมกันอีกต่อไป.....ในที่สุด การประเมินภายนอกก็จะมีผลต่อการกระตุ้น หรือยกระดับคุณภาพการศึกษาได้
ภายใต้ระบบประเมินภายนอกที่เน้นตัดสินรับรองคุณภาพ ด้วยการพิจารณาพัฒนาการด้านผู้เรียน เป็นสำคัญ.... ผู้ประเมินภายนอกก็ยังคงรวบรวมข้อมูลด้านกระบวนการบริหาร กระบวนการสอน หรือกระบวนการสัมพัน์กับชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ตามปกติ เพียงแต่ไม่มีการนำมาให้คะแนนหรือตัดสินคุณภาพ หรือนำมาประกอบการพิจารณาให้การรับรอง หรือไม่รับรองคุณภาพ..... เป็นการรวบรวมข้อมูลเพียงเพื่อประโยชน์ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่โรงเรียน ในด้านแนวทางการปรับปรุงพัฒนาในอนาคต เท่านั้น