ในปี 2559 คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพพ.) ได้ร่วมกันประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนางานประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ. โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีการกล่าวถึง Red Zone Indicators หรือ Critical Indicators ที่ถือเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สถานศึกษาจะบกพร่องไม่ได้ ถ้าบกพร่องในตัวบ่งชี้สำคัญ จะได้รับการจัดอันดับคุณภาพไม่เกินระดับ พอใช้/ปานกลาง(เกรด C) ทั้งนี้ ในการประชุมกรรมการ กพพ.เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 รศ.นพ.สุริยเดว ตรีปาตี กรรมการท่านหนึ่งก็เสนอให้ทบทวนและใช้ Red Zone Indicators เป็นตัวบ่งชี้สำคัญ ในการกำกับคุณภาพ กล่าวคือ ถ้าสถานศึกษาบกพร่องในเรื่องเหล่านี้ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะตัดสินคุณภาพให้อยู่ในระดับ 4-ดีมาก หรือ 5-ดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้สำคัญ เช่น
สำหรับสถานศึกษระดับปฐมวัย/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก...Red zone คือ "ความปลอดภัยสำหรับเด็ก" เช่น (1) สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ..ความปลอดภัยด้านอาคาร สถานที่ เครื่องเล่น ระบบรถรับส่ง ฯลฯ (2) ความปลอดภัยด้านอาหาร (3) ความปลอดภัยด้านโรคภัย ตามฤดูกาล และ (4) ความปลอดภัยด้านสุขภาพจิต ความอบอุ่นในชีวิต การไม่ตี ข่มขู่ และ (5) ระบบดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา Red zone คือ (1) ทักษะการอ่านเก่ง/จับใจความได้ ของนักเรียนชั้น ป.3 และการเป็นนักอ่าน ของนักเรียนชั้น ป.4 เป็นต้นไป (2) ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเด็กบกพร่องหรือกลุ่มเรียนช้า(ถ้ามี) (3) ความมีวินัยและความสามารถในการดูแลตนเองของนักเรียนชั้นป.5-6
สำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา Red zone คือ (1) นิสัยรักการอ่าน-การอ่านแบบสะสมไมล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาชู้สาว การตีกันระหว่างสถานศึกษา (3) ความพยายามในการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกหรือไม่คล่อง หรือเรียนช้า(ถ้ามี) (3) ความพยายามแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียน (4) ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
...ผู้ประเมินอาจใช้เหตุผล เกี่ยวกับความบกพร่องในรายการ RED ZONE Indicator เป็นเงื่อนไขที่ไม่สามารถให้ระดับคุณภาพเป็น 4-ดีมาก หรือ 5-ดีเยี่ยม ทั้งๆ ที่ในภาพรวม โรงเรียนมีพัฒนาการต่อเนื่อง 2-3 ปี เป็นส่วนใหญ่ของรายการที่กำหนด หรือมีนวัตกรรมที่หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น