หลังจากมีความเห็นที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันมายาวนาน ตลอดปี 2558-59 โดย สถานศึกษาและหน่วยงานจำนวนหนึ่งเสนอให้ยุบ สมศ. อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีระบบการประเมินภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐาน อันจะนำไปสู่การกระตุ้นสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ในการนี้ สภาการขับเคลื่อนประเทศไทย(สปท.) เสนอให้ชะลอการประเมินภายนอกไป 2 ปี นั่นหมายถึงยังไม่มีการประเมินในปี 2559-2560...ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนี้ ทำให้การพัฒนามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ชะลอไประยะหนึ่ง...ตราบจนวันที่ 11 ตุลาคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับใหม่ สำหรับใช้ในปี 2559-2563 โดยกระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้ สมศ.ในฐานะองค์กรภายนอกใช้มาตรฐานคุณภาพฉบับเดียวกันนี้ เพื่อการประเมินสถานศึกษา อันหมายถึง การประเมินภายในโดยต้นสังกัด กับ การประเมินภายนอกโดย สมศ.ใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเดียวกัน
มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ฉบับ 11 ต.ค.2559 ได้กำหนดมาตรฐานหลักไว้ 4 มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฯ ปี 2553 ที่กำหนดให้ สมศงทำการประเมินภายนอก 4 มาตรฐาน ประกอบด้วย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
รายละเอียดตัวบ่งชี้ เป็นดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์
ของแต่ละระดับชั้น
1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นและแก้ปัญหา
1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
|
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับ
กฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
2.1
การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน
ทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างเป็นรูปธรรม
2.2.2
การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
2.2.4 การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
อย่างมีคุณภาพ
2.3
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
2.4
การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1
การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
3.2 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
3.3 การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
มีประสิทธิภาพ
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
"สถานศึกษาสามารถใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ฉบับประกาศวันที่ 11 ต.ค.59 เป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา"
"หากทำการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพภายใน เปรียบเทียบระหว่างรอบที่ 3(2554-2558) กับมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาภายในรอบที่ 4(2559-2563) ฉบับนี้ ก็จะพบว่า ไม่แตกต่างกันมากนัก ดังจะเทียบให้เห็นในบทความต่อไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น