วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 10 ความเสี่ยงของระบบประกันคุณภาพ : ปัจจัยที่ยับยั้งหรือเอื้อต่อความสำเร็จ



   ระบบประกันคุณภาพ คือ ระบบที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการควบคุมคุณภาพ(Quality Control)ด้วยการกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การตัดสินคุณภาพ)  โดยมาตรฐานและตัวบ่งชี้ต้องครอบคลุมหรือสอดคล้องกับพันธกิจ
2. มีการพัฒนาสู่มาตรฐาน โดยมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง(การกำกับ คุณภาพ-Quality Audit)  : ผู้มีหน้าที่จะต้องวางแผนพัฒนางาน ขับเคลื่อนงานตามแผน โดยมีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ อย่างต่อเนื่อง
3. มีการประเมินคุณภาพ(Quality Evaluation)  : จะต้องประเมินคุณภาพการปฏิบัติหรือผลงานตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด เป็นระยะ ๆ แล้วให้การรับรองคุณภาพในระดับใดระดับหนึ่ง


รายการปัจจัยเสี่ยงของระบบประกันคุณภาพ

   จากการวิเคราะห์พันธกิจของงานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ดังกล่าวข้างต้น  ความเสี่ยงหรือจุดอ่อนของระบบประกันคุณภาพอาจอยู่ที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ หรือเกณฑ์การให้คะแนน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล :
    (1) ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องและครอบคลุมพันธกิจขององค์กร
    (2) ไม่เป็นที่รับทราบและเห็นพ้องต้องกันของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    (3) ไม่ได้พัฒนาบนพื้นฐานของกระบวนการ R&D ที่เป็นระบบ
    (4) ยากแก่การปฏิบัติให้บรรลุ  ยากแก่การวัด-การประเมิน ฯลฯ
2.แผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนา :
    (1) ไม่มีแผนระยะยาวในการขับเคลื่อนคุณภาพ
    (2) แผน ไม่ครอบคลุม เหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
         ในการดำเนินงานให้บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด
    (3) แผนงาน/โครงการ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
3. ผู้บริหาร/ทีมงานบริหาร/ผู้รับผิดชอบงาน
    (1) ไม่มีความรู้ในเรื่องหลักการหรือแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพภายใน
    (2) ไม่มีความรู้ในเรื่องมาตรฐานและตัวบ่งชี้รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนน
    (3) ไม่พัฒนางานตามแผน อย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท  มีความบกพร่องในเรื่องการวางแผน  การกำกับติดตาม การนิเทศงาน หรือการประเมินความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ ๆ
    (4) ไม่มีระบบฐานข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ อย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
3. ผู้ประเมินภายในของต้นสังกัด(Internal Evaluator)  
    (1) ขาดความรู้ในมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การตัดสินคะแนน 
    (2) ขาดประสบการณ์ในการชี้แนะ
    (3) มีความเกรงใจ จึงประเมินแบบปล่อยคะแนน(Leniency) ฯลฯ
4. ผู้ประเมินภายนอก(External Evaluator)  (1) ไม่แตกฉานในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนน  (2) บุคลิกไม่เป็นกลาง วางอำนาจ  (3) ขาดทักษะในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับบุคคล รวมถึงการทำงานเป็นทีม (4) ขาดความรู้ในบริบทของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่ทำการประเมิน  (5) ไม่มีองค์ความรู้ หรือ Best Practice เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานหรือในการประเมิน ที่เป็นประสบการณ์ระดับชาติหรือนานาชาติ ที่สามารถนำมาใช้ในการชี้แนะแก่หน่วยงานหรือผู้รับการประเมิน และ (5) ไม่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้  ไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาแนวคิดใหม่ ๆ ความรู้ร่วมสมัย หรือผลงานวิจัยใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. กระบวนการประเมิน การเยี่ยมสถานศึกษา(Site visit) ไม่เป็นระบบ ไม่มีมาตรฐาน

   รายการปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ ทั้ง 5 หมวดหมู่นี้ หากมีการวางแผน พัฒนา หรือเตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้า  ความเสี่ยงเหล่านี้ก็น่าจะลดลง และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานได้ และในที่สุด จะนำมาซึ่ง "คุณภาพงานขององคกร หรือสถานศึกษา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น