วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 21 ทำอย่างไรให้ผลการประเมินมีความตรงตามสภาพจริง





   สิ่งที่น่ากังวลใจของนักประเมิน คือ ผลการประเมินไม่ตรงตามสภาพจริง(ไม่ว่าจะเป็นการประเมินภายใน หรือภายนอก) หรือไม่มีความตรงตามสภาพ(Concurrent Validity)  เช่น เราตัดสินผลการประเมินภายนอกในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2562 ว่า โรงเรียนนี้ในด้านผู้เรียนมีคุณภาพในระดับดีมาก(มีพัฒนาการต่อเนื่อง 2-3 ปี มาแล้ว)  หรือตัดสินผลการประเมินภายในว่า มีคุณภาพระดับยอดเยี่ยม(เพราะดำเนินการได้สูงกว่าเป้าหมายในทุกประเด็นหรือเกือบทุกประเด็น)   ปรากฏว่า ในปลายเดือน กรกฎาคม 2562 มีนักเรียนเครียด กระโดดตึก 1 คน เป็นข่าวครึกโครม  พอถัดอีก 1 สัปดาห์  นักเรียน หญิง ม.4 ยกพวกมาตีน้อง ม.2 จนเป็นข่าวอีก....ในกรณีเช่นนี้ น่าจะถือว่า ผลการประเมินไม่ตรงตามสภาพจริง(Concurrent Validity) หรือไม่มีความตรงเชิงทำนาย(Predictive Validity)...กรณีเช่นนี้ อาจจะสรุปพาดพิงได้ว่า กระบวนการประเมินและผลการประเมินเชือถือไม่ได้ ยังมีข้อบกพร่อง อย่างแน่นอน

   ในกรณีของการประเมินภายนอก บางครั้ง สถานศึกษา ส่ง SAR ของปีการศึกษา 2561 เพื่อมาขอรับการประเมิน  เป็นการส่งเข้าขอรับการประเมินในเดือน ตุลาคม 2562  โดยขณะที่ส่งนี้ เป็นที่รับทราบตรงกันหรือโรงเรียนก็ทราบดีว่า ในปีการศึกษา 2562 โรงเรียนแห่งนี้ เปลี่ยนผู้บริหาร และโรงเรียนประสบปัญหาต่าง ๆ เยอะมาก(ทั้งด้านคุณภาพทางวิชาการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน) แนวโน้มคุณภาพของปี 2562 ตกต่ำลงเกือบทุกเรื่อง รวมถึงคาดการณ์ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(O-NET)ก็น่าจะตกต่ำ อย่างแน่นอน
   จากสภาพเงื่อนไขช้างต้น เมื่อผู้ประเมินภายนอกไปทำการประเมินปลายปี 2562 โดยยึด SAR ปีการศึกษา 2561  และพอมองย้อนหลังไปดูในปี 2560 และ 2559 ก็เห็นว่า โรงเรียนแห่งนี้มีพัฒนาการดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง(Continuous Improve)  ซึ่งตามเกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพ คณะกรรมการผู้ประเมิน อาจให้ผลการประเมินระดับ 4-ดีมาก เพราะโรงเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง....แต่ปัญหา อยู่ที่ ณ ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2562 แนวโน้มคุณภาพโรงเรียนนี้ลดลงในหลายเรื่อง หรือเกิดปัญหาหลายเรื่อง  หากพิจารณาในแง่ความเชื่อถือได้ของผลการประเมินด้านผู้เรียน เมื่อดูสภาพจริงในปี 2562 (ขณะที่ไปประเมิน) พบว่า  ที่เคยบอกว่าด้านผู้เรียนมีคุณภาพระดับ "ยอดเยี่ยม" นั้น มาบัดนี้   ณ ปี 2562 ไม่จริงเสียแล้ว  ในบทบาทของ Expert Judgement ในกรณีนี้ ผู้ประเมินมีสิทธิที่จะลดระดับคุณภาพ เพราะไม่สามารถยืนยันได้ว่าโรงเรียนนี้ มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน(นำข้อมูลปัจจุบัน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ)  หากประกาศผลการประเมินระดับ 4-ดีมาก ก็ถือว่า ผลการประเมินไม่ตรงตามสภาพจริง(ณ เวลานี้) อีกทั้ง ยิ่งหากปลายปี 2562 โรงเรียนยิ่งประสบปัญหาวิกฤติมากขึ้น ก็ยิ่งยืนยันว่า ผลการประเมินตนเอง ระหว่างปี 2559-2561  แม้จะมีความต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มีแนวโน้มยั่งยืน  การตัดสินให้ผลการประเมินระดับ 4-ดีมาก ก็น่าจะถือว่าไม่ตรงตามสภาพจริง หรือไม่มีความตรงเชิงทำนายเลย ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติสำคัญของผลการประเมิน(ต้องมีความตรง เชื่อถือได้)...โดยนัยข้างต้นนี้ ผู้ประเมินภายนอกที่เชี่ยวชาญ จะต้องพิจารณาความตรงตามสภาพจริง(ของปีปัจจุบัน) ประกอบการตัดสินใจในการให้ระดับคุณภาพด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น