วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 11 บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ : มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

 

ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ กล่าวคือ...ต้อง...กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ > วางแผนและดำเนินการพัฒนางานวิชาการ งานบุคลากร งานสารสนเทศ และบรรยากาศของสถานศึกษา > บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  > กำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ พร้อมนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนพัฒนา จนสามารถนำการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษา(Growth) อย่างต่อเนื่อง

   ตามมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้พื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559  ซึ่งกำหนดมาตรฐานคุณภาพ 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา  มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

   โดยในการนี้ ในส่วนของมาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา  ได้จำแนกเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย

2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
 2.2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างเป็นรูปธรรม
 2.2.2 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
 2.2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
 2.2.4 การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ
2.3 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

2.4 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา


   โดยนัยข้างต้น  กระบวนการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ถือว่าเป็นบทบาทสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหาร จะต้อง
1. ทบทวนและกำหนดเป้าหมายในการจัดการศึกษา วิสัยทัศน์  และพัฒนากิจอย่างครอบคลุม ชัดเจน(มักจะทำควบคู่ไปในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา)
2. วางแผนและดำเนินการให้ครอบคลุมในเรื่อง  (1) งานวิชาการที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  (2) งานพัฒนาครูและบุคลากร  (3) งานพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ควรเน้นระบบสารสนเทศผ่านจอภาพ(Electronic Portfolio)  และ(4)งานจัดการสภาพแวดล้อมทางการยภาพและสังคมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม หรือให้ความสำคัญกับการบริหารด้วยระบบองค์คณะบุคคล
4. การกำกับ ติดตาม นิเทศและประเมินผลการดำเนินงาน เป็นระยะ ๆ แล้วนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนในระยะต่อไป
   ตามตัวบ่งชี้ทั้ง 4 ประการ ถือได้ว่าผู้บริหารได้ใช้กระบวนการ P-D-C-A อย่างมืออาชีพ ครบถ้วนสมบูรณ์   ผู้บริหารจำนวนหนึ่งที่สนใจเฉพาะเรื่องการปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่ แสดงว่าสนใจเฉพาะตัวบ่งชี้ 2.2.4 เท่านั้น


โดยสรุป ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ คือ...กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ > วางแผนและดำเนินการพัฒนางานวิชาการ งานบุคลากร งานสารสนเทศ และบรรยากาศของสถานศึกษา > บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  > กำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ พร้อมนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนพัฒนา จนสามารถนำการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษา(Growth) อย่างต่อเนื่อง

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 10 ความเสี่ยงของระบบประกันคุณภาพ : ปัจจัยที่ยับยั้งหรือเอื้อต่อความสำเร็จ



   ระบบประกันคุณภาพ คือ ระบบที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการควบคุมคุณภาพ(Quality Control)ด้วยการกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การตัดสินคุณภาพ)  โดยมาตรฐานและตัวบ่งชี้ต้องครอบคลุมหรือสอดคล้องกับพันธกิจ
2. มีการพัฒนาสู่มาตรฐาน โดยมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง(การกำกับ คุณภาพ-Quality Audit)  : ผู้มีหน้าที่จะต้องวางแผนพัฒนางาน ขับเคลื่อนงานตามแผน โดยมีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ อย่างต่อเนื่อง
3. มีการประเมินคุณภาพ(Quality Evaluation)  : จะต้องประเมินคุณภาพการปฏิบัติหรือผลงานตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด เป็นระยะ ๆ แล้วให้การรับรองคุณภาพในระดับใดระดับหนึ่ง


รายการปัจจัยเสี่ยงของระบบประกันคุณภาพ

   จากการวิเคราะห์พันธกิจของงานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ดังกล่าวข้างต้น  ความเสี่ยงหรือจุดอ่อนของระบบประกันคุณภาพอาจอยู่ที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ หรือเกณฑ์การให้คะแนน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล :
    (1) ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องและครอบคลุมพันธกิจขององค์กร
    (2) ไม่เป็นที่รับทราบและเห็นพ้องต้องกันของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    (3) ไม่ได้พัฒนาบนพื้นฐานของกระบวนการ R&D ที่เป็นระบบ
    (4) ยากแก่การปฏิบัติให้บรรลุ  ยากแก่การวัด-การประเมิน ฯลฯ
2.แผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนา :
    (1) ไม่มีแผนระยะยาวในการขับเคลื่อนคุณภาพ
    (2) แผน ไม่ครอบคลุม เหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
         ในการดำเนินงานให้บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด
    (3) แผนงาน/โครงการ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
3. ผู้บริหาร/ทีมงานบริหาร/ผู้รับผิดชอบงาน
    (1) ไม่มีความรู้ในเรื่องหลักการหรือแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพภายใน
    (2) ไม่มีความรู้ในเรื่องมาตรฐานและตัวบ่งชี้รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนน
    (3) ไม่พัฒนางานตามแผน อย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท  มีความบกพร่องในเรื่องการวางแผน  การกำกับติดตาม การนิเทศงาน หรือการประเมินความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ ๆ
    (4) ไม่มีระบบฐานข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ อย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
3. ผู้ประเมินภายในของต้นสังกัด(Internal Evaluator)  
    (1) ขาดความรู้ในมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การตัดสินคะแนน 
    (2) ขาดประสบการณ์ในการชี้แนะ
    (3) มีความเกรงใจ จึงประเมินแบบปล่อยคะแนน(Leniency) ฯลฯ
4. ผู้ประเมินภายนอก(External Evaluator)  (1) ไม่แตกฉานในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนน  (2) บุคลิกไม่เป็นกลาง วางอำนาจ  (3) ขาดทักษะในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับบุคคล รวมถึงการทำงานเป็นทีม (4) ขาดความรู้ในบริบทของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่ทำการประเมิน  (5) ไม่มีองค์ความรู้ หรือ Best Practice เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานหรือในการประเมิน ที่เป็นประสบการณ์ระดับชาติหรือนานาชาติ ที่สามารถนำมาใช้ในการชี้แนะแก่หน่วยงานหรือผู้รับการประเมิน และ (5) ไม่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้  ไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาแนวคิดใหม่ ๆ ความรู้ร่วมสมัย หรือผลงานวิจัยใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. กระบวนการประเมิน การเยี่ยมสถานศึกษา(Site visit) ไม่เป็นระบบ ไม่มีมาตรฐาน

   รายการปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ ทั้ง 5 หมวดหมู่นี้ หากมีการวางแผน พัฒนา หรือเตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้า  ความเสี่ยงเหล่านี้ก็น่าจะลดลง และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานได้ และในที่สุด จะนำมาซึ่ง "คุณภาพงานขององคกร หรือสถานศึกษา"

เรื่องที่ 9 การประเมินตนเองในเรื่อง "มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน" สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา



   ผลการวิจัยหลายรายการยืนยันว่า ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายใน อีกทั้ง โรงเรียนที่ผ่านการรับรอง-ไม่ผ่านการรับรอง ก็มีการยืนันว่า "ผู้บริหารมีความเข้าใจและใส่ใจในเรื่องการประกันคุณภาพภายในแตกต่างกัน"
   ในการขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 4(2559-63) ...ผมคิดว่าภายใน 1 เดือน หลังจากประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา(รมต.ลงนาม ประกาศใช้ 11 ต.ค.59) ผู้บริหารสถานศึกษาควรตรวจสอบและประเมินตนเอง โดยตอบคำถามต่อไปนี้
-----------------
          1. มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน มีกี่มาตรฐาน อะไรบ้าง
2. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มีกี่ตัวบ่งชี้ อะไรบ้าง
3. เราจะเพิ่มความเป็นเลิศทางวิชาการหรือความโดดเด่นระดับสากล สอดแทรกในมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในได้อย่างไร สอดแทรกได้ที่ตัวบ่งชี้ใดบ้าง
4. เราจะสอดแทรกเรื่อง "อัตลักษณ์ของผู้เรียน" เข้าสู่มาตรฐานได้อย่างไร ที่ตัวบ่งชี้ใด
5. มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารของผู้บริหาร มีกี่ตัวบ่งชี้ ให้ความสำคัญกับ ระบบ P-D-C-A อย่างไร
6. มาตรฐานด้านกระบวนการสอน กำหนดขึ้นมาด้วยแนวคิด ทฤษฏีในการสอนใด เหมาะสมกับสังคมยุคใหม่ อย่างไร
7. ระบบประกันคุณภาพภายในที่ดี ควรออกแบบอย่างไร และดำเนินการอย่างไร ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารตามปกติ และ
8. จะทราบได้อย่างไรว่า สถานศึกษาของเราได้เกิด "วัฒนธรรมคุณภาพ" แล้ว
------------------

     คำถามทั้ง 8 ประการนี้ ควรถามในการสอบผู้บริหารใหม่ หรือเป็นคำถามเพื่อการแสดงวิสัยทัศน์ในการย้ายสู่ตำแหน่งใหม่


"ถ้าผู้บริหารสถานศึกษา ตอบคำถามข้างต้นได้ครบถ้วนและคมชัด ทั้ง 8 ประการนี้ เชื่อเถอะครับ  มันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ จะเพิ่มโอกาสของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้อย่างน่ามหัศจรรย์ อย่างแน่นอน"

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 8 ความเฉียบคมของของผู้บริหารสถานศึกษา ในงานประกันคุณภาพภายใน...มีความสำคัญอย่างไร




ถ้าผู้บริหารสถานศึกษา "เฉียบคมมาก คือ จำมาตรฐานและตัวบ่งชี้ได้  มีการคิดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการสู่คุณภาพ อย่างเต็มประสิทธิภาพ กำกับติดตาม และประเมินความก้าวหน้าหรือความสำเร็จเป็นระยะ ๆ ด้วยความมุ่งมั่น"...สักวันหนึ่งการประเมินจากภายนอกก็จะลดบทบาทลงได

    ถ้าเราเชื่อตรงกันว่า คุณภาพผู้เรียน เป็นเรื่องสำคัญ ในกระบวนการจัดการศึกษาที่ถือว่า "ผู้เรียนสำคัญที่สุด" ซึ่ง เมื่อเหลือบมองมาตรฐานด้านผู้เรียนที่กระทรวงกำหนด คือ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้(รวม 10 ตัวบ่งชี้)

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม

   ถ้ามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน กำหนดดีแล้ว คมแล้ว ครบถ้วนแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันคิด-วิเคราะห์....สิ่งต่อไป ก็คือ การขับเคลื่อนสู่มาตรฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่โชว์ฝีมือ ครู ผู้บริหาร และต้นสังกัด ว่ามีความคมมากน้อยเพียงใด
------------------------

     สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ "ความเฉียบคมของผู้บริหารสถานศึกษา" ถ้าบุคคลผู้นี้ "เฉียบคมมาก คือ จำมาตรฐานและตัวบ่งชี้ได้  มีการคิดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการสู่คุณภาพ อย่างเต็มประสิทธิภาพ กำกับติดตาม และประเมินความก้าวหน้าหรือความสำเร็จเป็นระยะ ๆ ด้วยความมุ่งมั่น(ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ 2)"...ซึ่งผู้บริหารที่เฉียบคมจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ-ซักถาม-ทดสอบ-ประลองประเมินด้วยตนเอง ในทุกตัวบ่งชี้ ก่อนวันที่จะมีการประเมินภายในหรือการประเมินภายนอก เสมอ....หากบรรยากาศเป็นเช่นนั้น... สักวันหนึ่งการประเมินจากภายนอกก็จะลดบทบาทลงได้  (จะอย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสบความสำเร็จก็มักจะเรียกร้องให้มีผู้มาประเมินเพื่อยืนยันความสำเร็จ เพื่อประกาศเกียรติคุณ หรือเพื่อความภาคภูมิใจ อันเป็นไปตามหลักปกติของ maslow's hierarchy of needs )

เรื่องที่ 7 ความเป็นเลิศระดับสากล หรือโดดเด่นเฉพาะทาง...ดำเนินการภายใต้มาตรฐานประกันคุณภาพภายในได้อย่างไร



   จากการศึกษามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในรอบที่ 4(2559-63)  ฉบับลงวันที่ 11 ต.ค.59 ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน  ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
      1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
       1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
       1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ  อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
       1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
       1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
       1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
      1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
      1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
       1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม


   จากมาตรฐานดังกล่าว หากโรงเรียนใด ๆ มีความโดดเด่นตามตัวบ่งชี้รายการใด ๆ เป็นพิเศษ  สมศ.สามารถประกาศเกียรติคุณความโดดเด่นเป็นรายด้าน แก่โรงเรียนนั้น ๆ  ถือว่าอยู่ในระดับ โดดเด่น(Out Standing) หรือดีเลิศ ระดับคุณภาพ 5 พร้อมถอดบทเรียน วิธีการปฏิบัติที่ดี(Best Practice) ของโรงเรียนนั้น ๆ ประกาศเกียรติคุณไว้ในเว็บไซต์ที่เป็น "ห้องเกียรติยศ"

   กรณีที่โรงเรียนใด ๆ มีความพร้อมเชิงวิชาการสูงมาก พร้อมสู่มาตรฐานระดับสากล  โรงเรียน อาจเพิ่มที่ตัวบ่งชี้ 1.1.4 เป็น "ความก้าวหน้าทางการเรียนและความเป็นเลิศตามหลักสูตรสถานศึกษา" ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน มีสมรรถนะที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ  การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  อัจฉริยภาพเฉพาะทาง ฯลฯ   รวมถึงการส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษเข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ

   กรณีที่โรงเรียน มีความเป็นเลิศด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือ อัตลักษณ์ด้านคุณลักาณะ ก็สามารถออกแบบ วางแผน ส่งเสริมผ่านตัวบ่งชี้ 1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด  เช่น "ผู้นำ สุภาพบุรุษฯ สนกุหลาบ" ที่กำหนดโดยโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย  ที่มีการส่งเสริมจนผู้สำเร็จการศึกษามีลักษณะโดดเด่น เป็นผู้นำระดับท้องถิ่น หรือระดับประเทศจำนวนมาก เป็นต้น

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 6 การประกันคุณภาพภายในหรือภายนอก ควรเน้นระบบ Paperless Office







   Paperless office (From Wikipedia) : A paperless office is a work environment in which the use of paper is eliminated or greatly reduced. This is done by converting documents and other papers into digital form. Proponents claim that "going paperless" can save money, boost productivity, save space, make documentation and information sharing easier, keep personal information more secure, and help the environment. The concept can also be extended to communications outside the office.
        ในการประเมินภายนอกของ สมศ.ใน 3 รอบที่ผ่านมา ในแต่ละรอบ โรงเรียนได้เตรียมเอกสาร/หลักฐานอย่างมหาศาล โดยปกติ น่าจะประมาณน้ำหนักรวมได้ไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัม ต่อโรงเรียน (ซึ่งน่าจะเป็นค่าเฉลี่ยของทุกโรงเรียน)...ซึ่ง หากคำนวณปริมาณเอกสาร และค่าใช้จ่ายในแต่ละรอบ  น่าจะประมาณ 1200 ล้านบาท ต่อ 1 รอบ..3 รอบรวมกันก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 3600 ล้านบาท (50,000 โรงเรียน X 250 กิโลกรัมต่อโรงเรียน = 12,500,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 12 ล้านรีมกระดาษ หรือ 1200 ล้านบาท)...นี่ไม่นับ 40 วัน และ 7 คืนสุดท้าย ที่ต้องเตรียมการแบบหามรุ่งหามค่ำ ทิ้งลูก ทิ้งสามี ทิ้งภรรยา ทิ้งพ่อแม่ มาอยู่โรงเรียน เพื่อเตรียมเอกสาร-หลักฐาน แบบน่าสยดสยอง(terrible prepare)


ทำอย่างไรให้เกิด paperless จริง ๆ ดังนิยามข้างต้น ผมคิดว่าน่าจะต้องดังนี้

   1) ทุกโรงเรียน ทำงานอย่างสม่ำเสมอตลอด 5 ปี ก่อนที่ สมศ.จะมาประเมิน
   2) จัดทำ Electronic Portfolio ไว้สัก 4  หมวด สอดคล้องกับมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ที่สามารถเรียกดูได้ครบทั้ง  4 มาตรฐาน  21 ตัวบ่งชี้(ประเด็น)  โดยให้ทุกอย่างอยู่ในระบบฐานข้อมูล ในเว็บไซต์ของสถานศึกษา(บางรายการอาจถ่ายภาพ แล้วเก็บในลักษณะของรูปภาพ)...ระบบฐานข้อมูลนี้ อาจจะใช้ระบบ Login สำหรับข้อมูลที่ไม่ประสงค์จะเผยแพร่ทั่วไป
   3) ในวันประเมินภายนอก ในห้องประชุม ให้จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ในระบบออนไลน์ ไว้สัก 5 เครื่อง เพื่อผู้ประเมิน สามารถเรียกดูข้อมูลได้ โดยเอกสารตัวจริงอาจจะกระจัดกระจายอยู่กับครูผู้สอน หรือห้องทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ(ไม่ต้องไปเก็บมารวมกัน)....อย่าลืมน่ะ ในวันประเมิน โปรดเตรียมนักเรียนเก่ง ๆ (เก่งคอมพิวเตอร์) มาคอยช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประเมิน เพราะผู้ประเมินบางคน อายุ 70 แล้ว และไม่ถนัดใช้คอมพิวเตอร์
   4) ในการนำเสนอผลงานในภาพรวมของโรงเรียน อาจบันทึกเป็น VCD โดย ผอ.สถานศึกษา นำเสนอให้เห็นในภาพรวม ประมาณ 40 นาที ก่อนที่จะเชิญผู้ประเมินภายนอกได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน หรือซักถามผู้เกี่ยวข้อง ตามอัธยาศัย

ผมเชื่อว่า สิ่งที่สังคม และ สมศ.อยากเห็น คือ
1) อยากเห็นโรงเรียนเตรียมตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะ 5 ปี  ที่มีการเขียยน E-SAR อย่างต่อเนื่องทุกปี
2) อยากเห็นโรงเรียนใด ๆ พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เป็น "ระบบประเมินที่ Paperless อย่างแท้จริง" ข้อมูลทุกอย่างหรือเกือบทั้งหมด อยู่ในรูป Digital Form
3) สมศ.เองก็ควรมีห้องสัมมนาในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเคลียร์ ประเด็นแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้ประเมินแต่ละชุด เข้าใจตรงกัน
4) ในการประเมิน รอบที่ 4(2559-2563) ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกให้มีสมรรถนะ หรือคล่องตัวในการใช้ระบบฐานข้อมูล ICT
5) ต้นสังกัดและ สมศ.ต้องผลักดันแนวคิด Paperless Office อย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้เปลืองกระดาษแบบ 12 ล้านรีม หรือ 1200 ล้านบาท ต่อ 1 รอบประเมินภายนอก อย่างเช่นในรอบที่ 1-3 ที่ผ่านมา

------------------------------------------------------------------

เรื่องที่ 5 แนวโน้มหลักปฏิบัติในการประเมินภายนอกโดย สมศ. ในรอบที่ 4(2559-63) : ข้อเสนอ(Proposed Model)





     ในการประเมินภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้ฐาน ในรอบที่ 4(2559-63)  ผมประมวลผลจากการรับฟัง การร่วมเสวนา ผมคิดว่า ณ เวลานี้ มีแนวโน้มที่จะดำเนินการตามหลักปฏิบัติต่อไปนี้ โดยรายการสีน้ำเงิน น่าจะถือได้ว่าเป็นข้อยุติแล้ว ส่วนรายการอื่น ๆ ยังอยู่ในลักษณะของข้อเสนอที่มีแนวโน้มเป็นไปได้สูง

  • มาตรฐานเพื่อการประเมินภายนอก : ใช้มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สำหรับการประกันคุณภาพภายในของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559(ภายนอกและภายใน ใช้มาตรฐานเดียวกัน)
  • การตัดสินระดับคุณภาพ เน้นการตัดสินภาพรวมรายมาตรฐาน 4 มาตรฐาน คือ (1) คุณภาพผู้เรียน  (2) การบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา  (3) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และ (4) การประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
  • การตัดสินรับรอง-ไม่รับรอง  เปลี่ยนเป็น "ตัดสินรับรองแบบจำแนกระดับคุณภาพ" เช่น  
    • รับรองระดับดีเลิศ  
    • รับรองระดับดีมาก
    • รับรอง ระดับดี
    • รับรอง ระดับปานกลาง
    • รับรอง แบบมีเงื่อนไข
  • การพัฒนาเพื่อขอเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพ   กรณีของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองระดับปานกลางและรับรองแบบมีเงื่อนไข อาจจะต้องเข้าสู่ระบบกำกับติดตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและต้นสังกัด (คือ เขตพื้นที่การศึกษาหรือคณะกรรมการที่เขตพื้นที่แต่งตั้งให้รับผิดชอบดำเนินการประกันคุณภาพภายในกรณีพิเศษ)  ในระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพ
  • ระยะเวลาในการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  อยู่ระหว่าง 1-3 วัน ตามระดับคุณภาพที่เป็นฐานเดิมของสถานศึกษา
  • การขอรับการประเมินภายนอก  ให้ความสำคัญกับความต้องการหรือความพร้อมของสถานศึกษา หรือตามการเห็นพ้องของต้นสังกัดคือเขตพื้นที่การศึกษา ในการจัดส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมิน (อันเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพภายในของต้นสังกัด กล่าวคือ ต้นสังกัดหรือเขตพื้นที่ที่ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างมีประสิทธิภาพก็มีโอกาสส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมินและรับรองมาตรฐานได้ครบถ้วนหรือทั่วถึงก่อน)

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 4: การประกาศอัตลักษณ์ คุณลักษณะอังพึงประสงค์ หรือจุดเน้นพิเศษของสถานศึกษา










      ตามมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในระยะที่ 4(2559-63)  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ศึ่งมีขอบเขตดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน  ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
       1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
       1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
       1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ  อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
       1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
       1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
       1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
      1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
      1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
       1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม


    ตามมาตรฐานที่ 1 สมรรถนะ/คุณลักษณะย่อย รายการที่ 1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด  ในการนี้มีจุดหมายเพื่อให้สถานศึกษามีโอกาสกำหนดอัตลักษณ์หรือคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นที่เห็นพ้องต้องกันของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษานั้น ๆ ซึ่งควรยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้
  • สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นตามที่หลักสูตรกำหนด(หลักสูตร 2551 กำหนด 8 ประการ คือ รักชาติฯ มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่ในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ)
  • อัตลักษณ์หรือคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นพิเศษในรายการ 1.2.1  ควรเกิดขึ้นจากเจตนารมณ์/ปณิธานหรือจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งสถานศึกษา โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเห็นพ้องต้องกัน และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
  • ไม่ควรกำหนดมากรายการจนเกินไป
  • ควรให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นพิเศษหรืออัตลักษณ์ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกัน
  • ควรมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/แนวการจัดประสบการณ์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์หรือคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นพิเศษ อย่างเป็นรูปธรรม รับทราบตรงกัน
  • ควรพัฒนาระบบประเมินอัตลักษณ์หรือคุณลักษณะพิเศษ อย่างเป็นรูปธรรม : ควรกำหนดบทบาทให้อาจารย์ท่ปรึกษา ประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นที่กำหนด ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง โดยอาจใช้ข้อมูลผลการประเมินจากผู้ปกครองด้วย ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนประเมินตนเองและจัดทำแฟ้มสะสมงาน(Electronic Portfolio) ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะ

กรณีตัวอย่าง การกำหนดคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้นพิเศษของโรงเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย
      โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้กำหนดคุณลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์สวนกุหลาบ  ซึ่งหมายถึง ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น ที่ต้องการให้เกิดในตัวผู้เรียนของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย คือ "ผู้นำ สุภาพบุรุษฯ" ประกอบด้วย     
       “ความเป็นผู้นำ” หมายถึง การเป็นผู้มีวินัย มีความรับผิดชอบ  มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  มีความสามารถในการเผชิญปัญหา แก้ปัญหา   กล้าแสดงออกในการพูดและการกระทำที่ถูกต้อง (มี 3 ตัวบ่งชี้ย่อย)
     “ความเป็นสุภาพบุรุษฯ สวนกุหลาบ”  หมายถึง คุณลักษณะของนักเรียนสวนกุหลาบฯทั้งชาย-หญิงที่สะท้อนถึง มีความสุภาพ  มีน้ำใจ  และ มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน (3 ตัวบ่งชี้ย่อย)
     รายวิชาสวนกุหลาบศึกษา หมายถึง รายวิชาหรือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความเป็นมา พัฒนาการ ความสำเร็จ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ของผู้เรียนในโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นรายวิชาที่มุ่งหล่อหลอม “ความเป็นผู้นำ สุภาพบุรุษฯ สวนกุหลาบ”
      

เรื่องที่ 3 : มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียน ..มีกี่รายการ เพียงพอหรือไม่ ควรส่งเสริมและประเมินอย่างไร

   

    จากการศึกษามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 4(2559-63) ได้กำหนดมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียนไว้  10 รายการ ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน  ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
      1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
       1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
       1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ  อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
       1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
       1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
       1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
      1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
      1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
       1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม


 โดยรายการที่ 1.2.1 เป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา ซึ่งหากสถานศึกษากำหนด 3 ตัว เช่น มีวินัย รับผิดชอบ จิตสาธารณะ  จะทำให้รายการสมรรถนะประกอบด้วย 12 รายการ (ต้องผ่านความเห็นชอบของกรรมการสถานศึกษา)

คำถาม .....ทั้ง 12 ประการนี้ เป็นรายการคุณภาพผู้เรียนที่สำคัญ  ครบถ้วน เพียงพอ หรือไม่


กิจกรรมและมาตรการส่งเสริม
   ในการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียน โรงเรียนต้องกำหนดแนวการจัดประสบการณ์ มีกิจกรรมพัฒนาที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกรายการคุณภาพ ภายใต้บทบาทร่วมของผู้ปกครอง  ครูที่ปรึกษา  ครูประจำวิชา  เคือข่ายผู้ปกครอง หรือ องค์กรชุมชน


การประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพผู้เรียน
   โรงเรียนควรประเมินผู้เรียนเป็นรายคน เป็นรายการๆ ไป จนครบทั้ง 12 ตัว  โดยควรกำหนดเกณฑ์ว่าจะต้องผ่านระดับ ดี ทุกรายการ ก่อนจบการศึกษา
   โรงเรีนควรแจงนับร้อยละของนักเรียนชั้นตัวประโยค เช่น ป.6  ม.3  หรือ ม.6 ว่ามีคุณภาพระดับดี-ดีมาก จำนวนมาก-น้อยเพียงใด  คิดเป็นร้อยละ เท่าไหร่

เรื่องที่ 2 : การวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 4(2559-63) กับ รอบที่ 3(2554-58)


      หากทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 3(2554-58) กับมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในรอบปีที่ 4(2559-63)  สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบได้ดังเอกสารการวิเคราะห์ในลิงค์ด้านล่าง ต่อไปนี้

     มาตรฐานรอบนี้(2559-63) ต่างจากรอบที่ 3(2554-58) หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

>> คลิ๊กเพื่อดูการเปรียบเทียบ<<



เรื่องที่ 1 ศธ.ประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน รอบที่ 4(2559-2563)





   หลังจากมีความเห็นที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันมายาวนาน ตลอดปี 2558-59  โดย สถานศึกษาและหน่วยงานจำนวนหนึ่งเสนอให้ยุบ สมศ. อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีระบบการประเมินภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐาน อันจะนำไปสู่การกระตุ้นสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  ในการนี้ สภาการขับเคลื่อนประเทศไทย(สปท.) เสนอให้ชะลอการประเมินภายนอกไป 2 ปี นั่นหมายถึงยังไม่มีการประเมินในปี 2559-2560...ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนี้ ทำให้การพัฒนามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ชะลอไประยะหนึ่ง...ตราบจนวันที่ 11 ตุลาคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับใหม่ สำหรับใช้ในปี 2559-2563  โดยกระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้ สมศ.ในฐานะองค์กรภายนอกใช้มาตรฐานคุณภาพฉบับเดียวกันนี้ เพื่อการประเมินสถานศึกษา  อันหมายถึง การประเมินภายในโดยต้นสังกัด กับ การประเมินภายนอกโดย สมศ.ใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเดียวกัน
   มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ฉบับ 11 ต.ค.2559  ได้กำหนดมาตรฐานหลักไว้ 4 มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฯ ปี 2553 ที่กำหนดให้ สมศงทำการประเมินภายนอก 4 มาตรฐาน  ประกอบด้วย


มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล 

รายละเอียดตัวบ่งชี้ เป็นดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน  ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รอง ดังต่อไปนี้
        1.1    ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
        1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์
               ของแต่ละระดับชั้น
       1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ  อภิปราย แลกเปลี่ยนความ
               คิดเห็นและแก้ปัญหา
       1.1.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1.1.4 ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
       1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการ จากการสอบระดับชาติ
 1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน

      1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับ
             กฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
      1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

     2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
     2.2 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
    2.2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างเป็นรูปธรรม
    2.2.2 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
    2.2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
    2.2.4 การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ
     2.3 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
     2.4 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
     3.2 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
      3.3 การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

     การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
 
 
 
"สถานศึกษาสามารถใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ฉบับประกาศวันที่ 11 ต.ค.59 เป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา"

 
 
"หากทำการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพภายใน เปรียบเทียบระหว่างรอบที่ 3(2554-2558) กับมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาภายในรอบที่ 4(2559-2563) ฉบับนี้  ก็จะพบว่า ไม่แตกต่างกันมากนัก  ดังจะเทียบให้เห็นในบทความต่อไป"