วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 18 : กรณีศึกษา การจำแนกระดับคุณภาพในการประเมินภายนอกของ สมศ.



หลักการของ สมศ. ในการประเมินรอบสี่ : ใช้กลไกการประเมินภายนอกเพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง


การสร้างมาตรวัดที่อิง GROWTH MODEL :  ในการประเมินรอบสี่  สมศ. มุ่งประเมินความเข้มแข็งหรือความเฉียบคมของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยเชื่อว่า ถ้าสถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินตนเองไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพงานในปีถัดไป อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเห็นผลในแง่ความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการบริหารจัดการแล้ว น่าจะเห็นพัฒนาการด้านผู้เรียนอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม(คุณภาพในปีหลัง สูงกว่าปีก่อน) ในการนี้ จึงได้กำหนดมาตรวัด ในการตัดสินคุณภาพแบบอิงพัฒนาการ  เช่น กรณีตัดสินคุณภาพของการประกันคุณภาพด้านผู้เรียน กำหนดมาตรวัดคุณภาพ ดังนี้


                                5-ดีเยี่ยม = ถ้าผู้เรียนมีพัฒนาการต่อเนื่อง และโรงเรียนมีนวัตกรรมด้านการพัฒนาผู้เรียน ที่หลากหลาย

                            4-ดีมาก =  คุณภาพเป็นไปตามเป้าประสงค์ และคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะ 2-3 ปีล่าสุด (คุณภาพปีหลัง สูงกว่าปีก่อน) 
                      3-ดี   =  องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การตัดสิน  แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนา มีความเหมาะสม เป็นไปได้  และผลการประเมินตนเองเชื่อถือได้ คุณภาพเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่กำหนด
                 2-พอใช้ = บกพร่องบางรายการ
            1-ปรับปรุง = บกพร่องหลายรายการ

   ตามนัยของมาตรวัดหรือมาตรในการตัดสินคุณภาพข้างต้นนี้  โรงเรียนใด ๆ จะได้รับการตัดสินคุณภาพในระดับ 4-ดีมาก ก็ต่อเมื่อ ปรากฏหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า คุณภาพผู้เรียนในปีหลัง มีแนวโน้มดีกว่าปีก่อน


สมมติว่าท่านเป็นผู้ประเมินภายนอกของ สมศ. ขอให้ลองตัดสินให้ระดับคุณภาพของผู้เรียน ในกรณีศึกษา ต่อไปนี้



Case Study : สถานศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง มีโอกาสคัดเลือกเด็กที่มีพื้นฐานเรียนดีจากทั่วประเทศ เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการนี้ มีนักเรียนที่มีพื้นฐานทางการเรียนระดับปานกลาง หรืออ่อน ได้รับการฝากเข้าเรียนประมาณ 8-10 % ของเด็กทั้งหมด  เมื่อถึงชั้น ม.3 ปรากฏผลการทดสอบด้านวิชาการ ดังนี้
นักเรียนมากกว่า 90 %  สอบโอเน็ตได้คะแนนสูงกว่า 70 % ของคะแนนเต็ม มีค่าเฉลี่ยโอเน็ต 3 ปีล่าสุดเท่ากับ  87.26,  87.24  และ 87.23 ตามลำดับ สูงเป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศ ในทุกปี
มีนักเรียนที่ได้คะแนน โอเน็ตต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 9.87, 9.65 และ 9.65 ของนักเรียทั้งหมดในแต่ละรุ่น ตามลำดับ
โรงเรียนประเเมินตนเอง ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่ามีคุณภาพระดับ ยอดเยี่ยม  ยอดเยี่ยม และ ยอดเยี่ยม  3 ปีต่อเนื่อง(เนื่องจากกำหนดเกณฑ์ว่า  ยอดเยี่ยม  คือ นักเรียนมากกว่าร้อยละ 90 ได้คะแนนเฉลี่ยโอเน็ตระดับดีหรือมากกว่า 70 % ของคะแนนเต็ม)

สรุป โรงเรียนนี้ ประเมินตนเองว่าด้านผลสัมฤทธิ์ ได้ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 3 ปีต่อเนื่อง(มาตรในการตัดสินคุณภาพภายใน คือ 5-ยอดเยี่ยม  4-ดีเลิศ  3-ดี  2-พอใช้  1-กำลังพัฒนา)
คำถาม : หลังจากที่ผู้ประเมินภายนอกตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ผลการประเมินตนเองในประเด็นนี้ เชื่อถือได้ กล่าว คือ มีเด็กมากกว่า 90 % ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ระดับ ดี(ได้เกิน 70 % ของคะแนนเต็ม)จริง การตัดสินระดับคุณภาพตนเองของโรงเรียนว่ามีคุณภาพระดับยอดเยี่ยมนั้น ถูกต้อง ตรงตามสภาพจริง แล้ว ...ในกรณีนี้ ถ้า พิจารณามาตรวัดคุณภาพแบบอิงพัฒนาการ(Growth Model) ตามเกณฑ์ของ สมศ.(5-ดีเยี่ยม มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีวัตกรรมหลากหลาย,  4-ดีมาก มีพัฒนาการต่อเนื่อง 2-3 ปี,  3-ดี ตัวชี้วัดเหมาะสม เป็นไปได้ ผลการประเมินตนเองเชื่อถือได้ และบรรลุตเป้าประสงค์ของโรงเรียน)  คำถาม คือ 
I. ท่านในฐานะผู้ประเมินภายนอกของ สมศ.จะให้ระดับคุณภาพเกี่ยวกับการประกันคุณภาพผู้เรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ ในระดับใด
(  ) 5-ดีเยี่ยม มีนวัตกรรมด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์
(  ) 4-ดีมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีพัฒนาการต่อเนื่อง 2-3 ปีล่าสุด
(  ) 3-ดี ตัวชี้วัดเหมาะสม เป็นไปได้ ผลการประเมินตนเองเชื่อถือได้ และบรรลุตาม
     เป้าประสงค์ของโรงเรียน
(  ) 2-พอใช้
(  ) 1-ปรับปรุง
II.โรงเรียนนี้ ควรปรับปรุง พัฒนาตนเอง ในแง่ใด

6 ความคิดเห็น:

  1. เห้นด้วยอย่างยิ่งครับ

    ตอบลบ
  2. ระดับคุณภาพ ดีมาก เพราะไม่ปรากฏนวัตกรรมที่หลากหลาย

    ตอบลบ
  3. ให้ระดับคุณภาพดีมากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีพัฒนาการต่อเนื่ิอง 2-3 ปีล่าสุด แต่ไม่ปรากฏชัดว่ามีนวัตกรรมที่หลากหลาย

    ตอบลบ
  4. ให้ระดับคุณภาพดีมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีพัฒนาการต่อเนื่อง 2-3 ปี แต่ไม่ปรากฏชัดมีนวัตกรรมที่หลากหลาย

    ตอบลบ
  5. ให้​ ระดับ​ ดี​ เพราะบรรลุผลตามเป้าของ​ รร​ แต่ไม่พัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง​ ลดลง​ อยู่กับที่

    ตอบลบ
  6. อยากให้อาจารย์ได้เฉลย ชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางด้วยครับ

    ตอบลบ